ติดต่อ Email veerapol@blpower.co.th, plecpn@blpower.co.th, thanij@blpower.co.th

สอบถามเพิ่มเติม คลิก!

อัปเดต 4 เหตุผล ที่ภาคธุรกิจไทยควรทำ ตลาดคาร์บอนเครดิต อย่างจริงจังภายใต้การกำหนดเป้าหมายการดำเนินธุรกิจในรูปแบบธุรกิจ Net Zero

ภายใต้การกำหนดเป้าหมายการดำเนินธุรกิจในรูปแบบธุรกิจ Net Zero ซึ่งในปัจจุบันมีบริษัททั่วโลกตั้งเป้าหมาย Net Zero จำนวน 1,361 บริษัท และมีบริษัทไทยจำนวน 44 บริษัท โดยการดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สามารถดำเนินการได้หลายวิธี เช่น เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี ใช้พลังงานสะอาด เช่น พลังงาน แสงอาทิตย์บนหลังคา หรือระบบโซล่าเซลล์ การปลูกป่าหรือพัฒนาเทคโนโลยีดูดซับ/กักเก็บก๊าซเรือนกระจก รวมทั้ง การซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

ในปัจจุบันจึงถือว่าธุรกิจไทยค่อนข้างมีความได้เปรียบด้านการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วย 4 เหตุผล ดังนี้ 

1.ราคาคาร์บอนเครดิตของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ 

ตลาดคาร์บอนเครดิต ของไทยมีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตด้วยราคาที่อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับราคาในตลาดโลก ส่วนหนึ่งเนื่องจากไทยยังไม่มีนโยบายที่มีการบังคับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหมือนในต่างประเทศ 

2. มาตรฐานคาร์บอนเครดิตของประเทศไทยเชื่อมโยงกับมาตรฐานสากล 

ที่ผ่านมาคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรองจากโครงการ T-VER เป็นมาตรฐานที่สามารถใช้ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เฉพาะในประเทศไทย แต่ปัจจุบัน อบก. ได้เชื่อมโยงมาตรฐานคาร์บอนเครดิตในโครงการ T-VER กับมาตรฐาน Verified Carbon Standard (VCS) ของ Verra ซึ่งเป็นกลไกลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจระดับสากลที่มีส่วนแบ่ง ตลาดใหญ่ที่สุดในโลก 

3.บรรยากาศ ตลาดคาร์บอนเครดิต ที่ดีจากความร่วมมือของภาคเอกชนของไทย 

ที่ผ่านมาภาคธุรกิจของไทยได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร และผลักดันในการเกิดการดำเนินการเพื่อลด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพื่อเป็นช่องทางในการเจรจาเพื่อตกลงซื้อขายคาร์บอนเครดิต เช่น การจัดตั้งเครือข่าย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งประเทศไทย (Thailand Climate Change Network: TCCN) การจัดตั้งสมาคม พลังงานหมุนเวียนไทย (RE100 Thailand Club) ที่มีจุดประสงค์เพื่อสร้างบรรยากาศให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปใช้พลังงาน หมุนเวียนแบบ 100% อาทิเช่นการติดตั้งโซล่าเซลล์ หรือระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีเหตุผลมาจากการที่ กลไกตลาดคาร์บอนเครดิตของไทยมีรูปแบบในลักษณะเป็นภาคสมัครใจ 

4.มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการซื้อขายคาร์บอนเครดิต และ Carbon Tracking เพื่อลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

ปัจจุบันสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการซื้อขายพลังงานสะอาด อาทิเช่น การติดตั้งโซล่าเซลล์ หรือระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และคาร์บอนเครดิตหรือ FTIX เพื่อเป็นศูนย์กลางในการซื้อ ขายคาร์บอนเครดิตที่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของ อบก. ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวก ลดความยุ่งยากให้แก่ภาคธุรกิจซึ่งเดิม ต้องเจรจาซื้อขายกับธุรกิจที่มีคาร์บอนเครดิตส่วนเกินแบบทำการตกลงราคาและปริมาณที่จะซื้อขายกันเองในระบบ ทวิภาค (over-the-counter) พร้อมทั้งรองรับการซื้อขายใบรับรองการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (REC) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่ง ส.อ.ท. อยู่ระหว่างทดสอบในโครงการ ERC Sandbox 2 ของสำนักงาน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่ก็อยู่ระหว่างการเตรียมขายไฟฟ้าสีเขียว (Green Tariff) ที่ได้จาก โครงการผลิตพลังงานสะอาด อาทิ ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ หรือการติดตั้งโซล่าเซลล์ แก่ภาคธุรกิจด้วย ซึ่งก็จะเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนให้ภาคธุรกิจสามารถลดและติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเองได้คล่องตัว และสะดวกมากยิ่งขึ้นได้ 

สรุปว่า ธุรกิจที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่าน หรือมีต้นทุนสูงในการลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือน กระจก ในระยะสั้นจะได้รับประโยชน์จากราคาคาร์บอนเครดิตของไทยที่ยังอยู่ในระดับต่ำในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือน กระจกจากการดำเนินธุรกิจของตนเองด้วยต้นทุนต่ำ ทั้งนี้ ในระยะกลาง 

การพัฒนาปรับปรุงมาตรฐานคาร์บอนเครดิตของไทยให้เทียบเท่ามาตรฐานสากลจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยขยายความ ต้องการคาร์บอนเครดิตของไทยไปยังตลาดต่างประเทศ ส่งผลให้ช่องว่างทางราคาของคาร์บอนเครดิตของไทยใกล้เคียง กับตลาดต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้ธุรกิจที่ดำเนินโครงการเพื่อสร้างคาร์บอนเครดิต เช่น โครงการที่เกี่ยวข้องกับ พลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน เทคโนโลยีการดูดซับและกักเก็บก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับ การลงทุนพัฒนาโครงการมากขึ้น 

https://www.salika.co/2022/11/02/4-reasons-for-thai-business-carbon-credit-market/

© 2021 Brilliant POWER Company Ltd., All Rights Reserved.​